วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

7มหัศจรรย์โลก


เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณดูบทความหลักที่ เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
1.มหาพีระมิดแห่งกีซ่า ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์ มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
2.สวนลอยแห่งบาบิโลน สร้างโดยพระเจ้าเนบูคาดเนสซาร์ที่ 2 เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนในประเทศอีรัก
3.เทวรูปเทพซุส ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีก สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และอัญมณีต่างๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดสิ้น
4.วิหารอาร์ทีมิส (หรือวิหารไดอานา) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธส์จากเยอรมันที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี พ.ศ. 805 ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
5.สุสานแห่งกษัตริย์มอโซลัส ที่ฮาลิคาร์นัสซัสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างโดยพระราชินีอาร์เทมิเซีย เป็นอนุสรณ์สถานแก่กษัตริย์มอโซลุสแห่งคาเรียที่สวรรคตเมื่อ 353 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวและต่อมานำไปใช้ในการก่อสร้างโดยอัศวินแห่งโรดส์ ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
6.เทวรูปเฮลิออส แห่งโรดส์ ของกรีก ในทะเลเอเจียน (ประเทศกรีก) เป็นรูปสำริดขนาดใหญ่ของเทพแห่งพระอาทิตย์หรือเฮลิออส สูงประมาณ 32 เมตร ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวหลังการสร้างเพียง 60 ปี ปัจจุบันไม่ปรากฏซาก
7.ประภาคารฟาโรส แห่งอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยพระเจ้าปโตเลมี ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงเมื่อแผ่นดินไหวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบันมีป้อมขนาดเล็กอยู่บนซากที่เหลือเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของโลกสมัยกลาง ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครได้กำหนดไว้ และรายการในยุคกลางก็ระบุไว้ไม่ตรงกัน แต่โดยมากจะยอมรับกับรายการต่อไปนี้

1.โคลอสเซียม สนามกีฬาแห่งกรุงโรม ประเทศอิตาลี
2.หลุมฝังศพแห่งอะเล็กซานเดรีย สุสานใต้ดินเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
3.กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน
4.สโตนเฮนจ์ ในอังกฤษ
5.เจดีย์กระเบื้องเคลือบ เมืองหนานกิง ประเทศจีน
6.หอเอนเมืองปิซา ประเทศอิตาลี
7.สุเหร่าโซเฟีย แห่งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ กรุงอีสตันบูล) ประเทศตุรกี
[แก้] เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันดูบทความหลักที่ เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
กลุ่มวิศวกรโยธาแห่งสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมรายชื่อของเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคปัจจุบันไว้ดังนี้

1.อุโมงค์รถไฟใต้ทะเล ประเทศอังกฤษ-ฝรั่งเศส
2.ซีเอ็น ทาวเวอร์ ประเทศแคนาดา
3.เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล-ปารากวัย
4.ตึกเอ็มไพร์สเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา
5.เดลต้า เวิร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์
6.สะพานโกลเดนเกต ประเทศสหรัฐอเมริกา
7.คลองปานามา ทวีปอเมริกาใต้

อาหารสมอง


6 อาหารสมอง


“สมอง” นับว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เป็นอวัยวะที่บัญชาการควบคุมให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ แม้ว่าสมองจะถูกใช้งานยาวนานเพียงใด ก็ยังสามารถทำงานได้ดี หากเราดูแลและบริหารสมองให้ดีอยู่เสมอ ซึ่งอาหารหารกินก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยบำรุงสมองให้ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ


อาหารบำรุงสมองที่สำคัญ

1. ไทโรซีน (Thyrosine) มีมากในปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาทะเลนย้ำลึก สารไทโรซีนช่วยให้สมองตื่นตัว และมีสมาธิ

2. นม และผลิตภัณฑ์จากนม ช่วยทำให้เกิดความสมดุลของสารเคมีในสมอง สร้างความกระฉับกระเฉงให้แก่สมอง

3. ข้าวไม่ขัดสี ในข้าวไม่ขัดสีมีกรดอมิโนที่ไม่จำเป็นอยู่ในปริมาณมาก ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้จะเป็นตัวที่ส่งสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงสมอง

4. ผักโขม ช่วยชะลอความเสื่อมของสมองส่วนกลาง เนื่องจากวัยที่สูงขึ้น สมองก็จะเสื่อมลงด้วย

5. ขมิ้น สีเหลืองของขมิ้นช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันความจำเสื่อม

6. สตรอเบอร์รี่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสมอง

มาเริ่มบำรุงสมองให้ดีอยู่กับเราตลอดไป โดยกินอาหารที่ช่วยบำรุงสมองอยู่พอเพียง และหมั่นใช้สมองอย่างต่อเนื่องพร้อมทำสมาธิและพักผ่อนอย่างเพียงพอ

มรดกวัฒนธรรมไทย


๑. โบราณวัตถุ

๑.๑ พระปางมารวิชัย
พระพุทธรูปปางมารวิชัยพระประธานในห้องทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างหล่อด้วยทองสำริดซึ่งนายบำเพ็ญ ณ อุบล
ข้าราชการบำนาญ สำนักงานอัยการพิเศษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร นำมามอบให้จังหวัดหนองบัวลำภู ในนามทายาทลูกหลาน
"พระวอ พระตา" เมื่อครั้งกระทำพิธีสถาปนาจังหวัดหนองบัวลำภู วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ โดย ฯพณฯ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานพิธีเป็นผู้รับมอบ และนายประภา ยุวานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู คนแรก เป็นผู้นำไปประดิษฐานไว้ ณ ห้องทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัด
เพื่อความเป็นศิริมงคล และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง







๑.๒ พระบางวัดมหาชัย
เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ จำนวนหนึ่งคู่ เป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของจังหวัด เก็บรักษาอยู่ที่วัดมหาชัย หมู่ที่ ๓ ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
หล่อด้วยทองสีดอกบวบ มีอักษรจารึกอยู่ที่ฐานเป็นภาษาขอม หรือที่ชาวเมืองเรียกกันว่า "อักษรธรรม" บอกชื่อผู้สร้างและวันเดือนปีที่สร้างอ่านได้ความว่า
"สังกาดได้ร้อยแปดสิบห้าตัว ปีกาเมด เดือนยี่ แรม ๑๕ ค่ำ วันหก แม่อวนพ่ออวนผัวเมียมีศรัทธาสร้างไว้ในพระศาสนา" เมื่อพิเคราะห์ดูตามภาษาที่ใช้จารึกนั่นแล้ว
เป็นภาษาไทยเหนือ เพราะใช้ศกนับตามอย่างข้างจีน และใช้จุลศักราชอย่างไทย เมื่อคำนวณดูตามปีที่สร้างแล้วก็คงสร้าง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๖ วันศุกร์ แรม ๑๕ ค่ำ
เดือนยี่ ปีมะแม สัมฤทธิศก คำว่าสังกาด คงจะหมายถึง จุลศักราช กา หมายถึง สัมฤทธิศก เมด หมายถึง ปีมะแม เพราะภาษาทางไทยเหนือ วิธีนับปีเอาศก
ไว้ข้างหน้า เช่นปีชวด เอกศก ใช้คำว่า "กาบใจ้" อย่างนี้เป็นต้น
พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ ชาวหนองบัวลำภูนับถือมาก เมื่อใดฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเกิดความแห้งแล้งขึ้น ชาวเมืองก็จะพากันอัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสอง
องค์นี้ ขึ้นประดิษฐานบนเกวียนสมัยที่ยังไม่มีรถยนต์ แล้วทำพิธีแห่รอบหนองบัวเพื่อขอฝน ในวันที่ทำพิธีนั้นถึงแม้ดินฟ้าอากาศจะแจ่มใส ไม่มีเมฆหมอกบดบัง
พระอาทิตย์เลยก็ตาม ฝนจะตกลงมาไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่งในขณะที่กำลังแห่อยู่นั้นเอง ในปัจจุบันนี้เมื่อถึงเทศการสงกรานต์ ทางราชการจะจัดรถยนต์อัญเชิญ
ประดิษฐานในรถยนต์ แห่พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้รอบถนนด้านในเขตเทศบาล สายต่างๆ ไปเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและสักการะบูชาตามควรแก่การปฏิบัติของ
พุทธศาสนิกชน ซึ่งเป็นการทำติดต่อกันมามิได้ขาดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน







๑.๓ พระราชศรีสุมังค์หายโศก
ประดิษฐานที่อุโบสถวัดหายโศก บ้านลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู สันนิษฐานว่า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างรุ่นเดียวกันกับ พระไชยเชษฐา วัดถ้ำสุวรรณคูหา
และวัดศรีคูณเมือง สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๑๐๖ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้าเมืองและชาวเมืองเคารพนับถือมาก ใช้เป็นพระประธานในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและ
ดื่มน้ำสาบาน





๑.๔ พระไชยเชษฐา วัดถ้ำสุวรรณคูหา
เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง สร้างโดยพระไชยเชษฐาธิราช ประมาณปี พ.ศ. ๒๑๐๖ ประดิษฐานที่วัดสุวรรณคูหา อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู
นอกจากพระพุทธรูปองค์นี้แล้วยังมีพระซึ่งแกะสลักจากหินอยู่ที่วัดถ้ำสุวรรณคูหานี้จำนวนมาก มีศิลาจาลึกอยู่ ๓ หลัก ซึ้งได้นำจารึกไปไว้ในเรื่องภาษาและ
วรรณกรรมโดยละเอียดแล้ว

๑.๕ พระไชยเชษฐาวัดศรีคูณเมือง
เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง ประดิษฐานในพระธาตุที่มีศิลปะคล้ายกับพระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย สันนิษฐานว่าพระไชยเชษฐาธิราชทรงสร้างไว้ในรุ่นเดียวกับ
พระไชยเชษฐาวัดถ้ำสุวรรณคูหา ปัจจุบันวัดศรีคูณเมือง ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้สร้างศาลาครอบพระธาตุไว้อีกชั้นหนึ่ง
สำหรับวัดศรีคูณเมืองนี้มีซากเทวสถาน และเสมาหินของขอมหันหน้าไปทางประเทศกำพูชา ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในสมัยที่สร้าง
ควรที่กรมศิลปกรจะมาสำรวจ และขึ้นทะเบียนไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน





๑.๖ เสมาหินวัดถ้ำสุวรรณคูหา
จำนวน ๓ หลักอยูที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู มีรายละเอียดต่างๆ ในเรื่องของจารึกแล้ว

๑.๗ เสมาหินวัดศรีคูณเมือง
วัดศรีคูณเมือง อำเภอเอง จังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งอยู่รายรอบซากเทวสถานวัดศรีคูณเมืองทั้ง ๔ ทิศ

๑.๘ กลุ่มเสมาหินวัดภูน้อย
วัดสันติธรรมบรรพต อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู มีทั้งหมด ๘ กลุ่ม วางไว้ทั้ง ๘ ทิศ แต่ละกลุ่มมีเสมาหินจำนวน ๔ ใบ บางใบมีจารึก บางใบมีการ
แกะสลักเป็นรูปพระโพธิสัตว์และรูปคล้ายเจดีย์ ใบที่พิเศษที่สุด คือ มีรูปลูกศร ๔-๕ ดอก สันนิษฐานว่ากลุ่มเสมาหินเหล่านี้ ฝังอยู่รายรอบเทวสถานของขอม
เหมือนกับเสมาหินวัดศรีคูณเมือง

๑.๙ พระพุทธรูปบุเงินบุทองและพระพุทธบรรฑูรนิมิตร
วัดถ้ำกลองเพล บริเวณถ้ำที่พบปรากฏมีวัตถุโบราณหลายอย่าง เช่น หม้อลายคราม มีดขวาน กล่องยาสูบ มีลวดลายงามมาก สำหรับวัดถ้ำกลองเพลแห่งนี้นอกจาก
จะเป็นวัดหลวงปู่ขาว อนาลโย พระอริยสงฆ์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปรมาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ตามประวัติของวัดในอดีตนั้นเคยเป็นเทวสถาน
ของขอมเหมือนกับโบราณสถานต่าง ๆ ในจังหวัดหนองบัวลำภูอีกด้วย

๒. โบราณสถาน

๒.๑ วัดศรีคูณเมือง
เดิมชื่อ วัดคนชุมน้ำออกบ่อ ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ที่บ้านเหนือ ถนนวรราชภักดี หมู่ที่ ๕ ตำบลลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู สังกัดคณะสงฆ์ฝ่าย
มหานิกาย สร้างเมือ ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เดิมเป็นวัดโบราณที่สร้างในสมัยที่ดินแดนแถบบนนี้เป็นที่อยู่ของชาติขอม ละว้า และลาว มีซากอุโบสถเก่าแก่
มีใบเสมาเป็นภูเขา ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปอยู่ในสถูปเรียกว่า "หลวงพ่อพระไชยเชษฐา"

๒.๒ วัดมหาชัย
เดิมชื่อ วัดมหาธาตุไตรยภูมิ สันนิษฐานว่า มหาธาตุซึ่งปัจจุบันเหลือแต่เพียงกองดินขนาดใหญ่อยู่เยื้องกับอุโบสถของวัด เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุของเจ้าปางคำ
เจ้าปงคำ และเจ้าแท่นคำ อดีตเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่บ้านหัวยเชียง หมู่ที่ ๓ ตำบลลำภู อำเภอหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู
สังกัดคระสงฆ์ธรรมยุตินิกาย สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นวัดที่พระอาจารย์แสง ธมฺมธีโร ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน รูปแรกของคณะธรรมยุติได้ชักชวนชาวบ้าน
สร้างขึ้น และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๐๙

๒.๓ วัดโพธิ์ชัยสมสะอาด
เดิมชื่อ วัดพระเรืองชัยสมสะอาด เรียกตามชื่อพระประธานในอุโบสถ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านจิก หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองบัว อ.เมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นวัดที่ริมหนองบัว

๒.๔ วัดหายโศกบ้านลำภู
เดิมชื่อ วัดพระราชศรีสุมังค์หายโศก ซึ่งเป็นประธานในพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและดื่มน้ำสาบานของชาวเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานในอดีตดังกล่าวแล้ว

๒.๕ วัดธาตุหาญเทาว์
ปัจจุบันตั้งอยู่ตำบลบ้านขาม อำเภอเมืองหนองบัวลำภู สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายเดิมเป็นวัดฝ่ายคณะธรรมยุติสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ เคยเป็นวัดร้าง
ต่อมาพระมหาสุตันสุตาโณ ได้มาบูรณะขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ และเปลี่ยนเป็นวัดฝ่ายมหานิกายภายในวัดมีปูชนียสถานที่สำคัญ คือพระธาตุเจดีย์
รูปแปดเหลี่ยมสันนิษฐานว่าข้างในบรรจุอัฐิธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งชาวจังหวัดหนองบัวลำภูเคารพนับถือมาก

๒.๖ เจดีย์โบราณและซากอุโบสถโบราณ วัดพระธาตุเมืองพิณ
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านโนนธาตุ หมู่ที่ ๗ ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู มีเนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๑ งาน สร้างเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๒
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๙ ห่างจากที่ว่าการอำเภอนากลาง ๖ กิโลเมตร

๒.๗ รอยพระบาทและกลุ่มเสมาหินในสมัยขอม วัดสันติธรรมบรรพต
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านภูน้อย ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ สร้างเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับ
พระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ อยู่หางจากที่ว่าการอำเภอนากลาง ๑.๕กิโลเมตร ปัจจุบันหลวงพ่อฤาษี ได้พัฒนาให้มี
ความสงบร่มเย็นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมจนเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัด

๒.๘ วัดป่าโนนคำวิเวก
ปัจจุบันตั้งอยู่บ้านทุ่งสว่าง ตำบลนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ เดิมเป็น
วัดโบราณ ประชาชนเรียกกันว่าวัดโนนคำน้อย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือต่อกันมาเป็นเวลานาน ภายในวัดมีซากวัตถุโบราณและเจดีย์อีก
๓ องค์

๒.๙ วัดถ้ำสุวรรณคูหา
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านคูหาพัฒนา ตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดฝ่ายมหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๐๓ ไร่ บูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ เดิมเป็นวัดร้าง
ตามศิลาจารึกหน้าถ้ำ กล่าวไว้ว่าสร้างเมื่อ พุทธศักราช ๒๑๐๖ โดยพระไชยเชษฐาธิราช และได้รับพระราชธานวิสุงคามสีมาเมือวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๑
มีถ้ำขนาดใหญ่ เล็ก ประมาณ ๔๐ ถ้ำ

๒.๑๐ วัดป่าสามัคคีสิริวัฒนาราม (กุดโพนทัน)
เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณกาล มีซากอุโบสถ และโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่โดยอายุสันนิษฐานว่า คงจะสร้างสมัยเดียวกับเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
เพราะซากอิฐและโบราณวัตถุมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่ มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์มาก เป็นสวนยาสมุนไพรที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด
หนองบัวลำภู เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน สายวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์บำบัดผู้ติดสุราและบุหรี่

๒.๑๑ วัดบ้านสมสนุก
ตั้งอยู่ที่บ้านสมสนุก ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ประวัติไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจน องค์ประกอบได้แก่ ซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐ
มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเหลืออยู่เพียงส่วนฐานรากโดยทางวัดได้สร้างอาคารไม้ชั่วคราวคร่อมทับโบราณสถานอยู่ สาระสำคัญมีหลักฐานว่าบริเวณนี้
เคยมีพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะขอม จึงอาจกล่าวได้ว่า ในเบื้องต้นโบราณสถานวัดสมสนุกนี้น่าจะเคยเป็นศาสนสถานตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘
และต่อมาได้มีการสร้างเสริม หรือโบสถ์ในสมัยล้านช้าง คือ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ -๒๔ จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน

๒.๑๒ สิมวัดเจริญทรงธรรม
ตั้งอยู่บ้านดอนปอ ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่ตั้งตามแผนที่ทหาร มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ ลำดับ ชุด L๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒|
รุ้ง ๑๖ ๕๕ เหนือ แวง ๑๐๒ ๒๓ ตะวันออก ไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าสร้างในสมัยใด องค์ประกอบทางโบราณคดี คือ สิมสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง มีลักษณะ
ที่สำคัญคือเป็นสิมไม้ที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งในภาคอีสานสิมประเภทที่สร้างด้วยไม้เป็นประเภทที่พบค่อนข้างน้อย ปัจจุบันยังมิได้
รับการขึ้นทะเบียน ซึ่งน่าเสียดายถ้าหากว่าปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมไปมากกว่านี้ เพราะสิมไม้แห่งนี้มีคุณค่าไม่น้อยกว่าโบสถ์ไม้ของพวกไวกิ้งส์ในประเทศสวีเดน

๓. แหล่งโบราณคดี

๓.๑ แหล่งโบราณคดีโนนพร้าว
ตั้งอยู่ที่บ้านกุดคอเมย ตำบลกุดดู่ จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือมาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude
๑๖ องศา ๕๗ ลิปดา ๑๐ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๓๘ ลิปดา ๓๘ ฟิลิปดาตะวันออก กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ และทำการ
ขุดค้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ ลักษณะของโบราณสถาน มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕๐ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตร จากที่ราบโดยรอบ พบหลักฐาน
ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดีและล้านช้าง และจากการศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุกับแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง สามารถกำหนดอายุประมาณ
๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว และโบราณวัตถุวัฒนธรรมล้านช้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔

๓.๒ แหล่งโบราณคดีโนนดอนกลาง (โนนป่ากล้วย)
ตั้งอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อย ตำบลบ้านถิ่น อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L๗๐๑๗ ๕๔๔๒ IV
Latitude ๑๖ องศา ๕๗ ลิปดา ๔๐ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๓๗ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการขุดค้นนายวิลเลี่ยม โซฟเฟลอร์ ขออนุญาต
กรมศิลปากร ขุดค้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น ขุดค้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที ๗ ขอนแก่นร่วมกับ
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ลักษณะของโบราณสถาน เนินดินขนาด ๑๕๕ X ๒๐๐ เมตร สูงประมาณ ๒- ๓ เมตร จากที่ราบ
โดยรอบพบหลักฐานต่อเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ทวารวดีและล้านช้างผลจากการขุดค้นสามารถกำหนดอายุ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว และหลักฐานทางโบราณคดี
ล้านช้าง อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔

๓.๓ แหล่งโบราณคดีโนนสัง
ตั้งอยู่ที่บ้านกุดคอเมย ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒
IV Latitude ๑๖ องศา ๑๗ ๐๖ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๓ ลิปดา ๐๕ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัตติการขุดค้นโครงการโบราณคดีประเทศไทย
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ ลักษณะโบราณสถาน เป็นเนินดินที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕๐ เมตร ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดี
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานที่พบได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผาทั้งแบบเรียบและแบบแตกต่างการเขียนสีและวาดลวดลาย ต่างๆ แวดินเผา หินบดยา
เครื่องมือเหล็ก และเครื่องประดับสำริด อายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว

๓.๔ แหล่งโบราณคดี ถ้ำเสือตก
ตั้งอยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒
IV Latitude ๑๖ องศา ๕๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๕ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการขุดค้น โครงการโบราณคดีประเทศไทย
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ลักษณะทางโบราณคดี ภาพเขียนทางสีเป็นลายลายเส้นและภาพมือ รวมทั้งภาพสลักเป็นภาพลายเส้น
สันนิษฐานว่าเขียนและสลักขึ้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๓.๕ แหล่งโบราณคดี ถ้ำจันได
ตั้งอยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒
IV Latitude ๑๖ องศา ๔๖ ลิปดา ๐๖ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการขุดค้น โครงการโบราณคดีประเทศไทย
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ลักษณะทางโบราณคดี มีลักษณะเป็นก้อนหินรูปทรงสามเหลี่ยมที่มีภาพเขียนสีบนพื้นผิวหิน ลักษณะปลีกย่อย
ภาพเขียนสีด้วยสีแดงแบบเงาทึบ เป็นภาพคล้ายหมีและภาพต้นข้าวสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๓.๖ แหล่งโบราณคดี ถ้ำพลานไฮ
ตั้งอยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒
IV Latitude ๑๖ องศา ๕๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๗ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการขุดค้น คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัย
ศิลปากร สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ลักษณะทางโบราณสถานเพิงหินที่มีภาพเขียนผนังหินจำนวน ๓ จุด ลักษณะปลีกย่อย ภาพสีเป็นภาพมือทาบ และภาพลายเส้น
สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์





๓.๗ แหล่งโบราณคดี ถ้ำอาจารย์สิม
ตั้งอยู่ที่ วัดพระพุทธบาทภูเก้า เขาศิริวงกต บ้านดกบาก ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐
ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๕๔ ลิปดา ๑๒ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๑ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการ
ขุดค้น คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๗ ขอนแก่น สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
ลักษณะทรงโบราณสถาน เป็นเพิงหินริมหน้าผาที่มีภาพเขียนสีบนผนังหิน ลักษณะปลีกย่อย ภาพเขียนสีแบบลายเส้นโครงร่างภายนอก เป็นภาพคล้ายคนและ
ภาพคล้ายปลา สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๓.๘ แหล่งโบราณคดี ถ้ำมึ้ม
ตั้งอยู่ที่ วัดพระพุทธบาทภูเก้า เขาศิริวงกต บ้านดกบาก ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐
ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๕๔ ลิปดา ๓๒ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการ
ขุดค้นกองโบราณคดี กรมศิลปากร ร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาวาย สำรวจเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ ลักษณะทางโบราณสถาน เป็นถ้ำลึกประมาณ ๔ เมตร ปากถ้ำกว้าง
๘ เมตร ตรงเพดานถ้ำ มีภาพเขียนสีและภาพสลักปะปนกัน ลักษณะปลีกย่อย ภาพเขียนและภาพสลักดังกล่าวเป็นภาพลายเส้น และภาพรูปทรงเรขาคณิต สันนิษฐาน
ว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๔. แหล่งประวัติศาสตร์

แหล่งประวัติศาสตร์ของจังหวัดหนองบัวลำภู คือ เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. ๒๑๑๗ จากจังหวัดพิษณุโลกผ่านอำเภอวังทอง อำเภอด่านซ้าย
อำเภอเมืองเลย อำเภอสุวรรณคูหา ผ่านตำบลกุดกะสู้ เข้าสู่อำเภอเมืองหนองบัวลำภู และตั้งทัพ ณ สนามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ริมฝั่งหนองบัวบึงน้ำจืดขนาดใหญ่
ของจังหวัดหนองบัวลำภู

๕. สถาปัตยกรรมดีเด่นมหาชัย



๕.๑ หอไตรวัดมหาชัย
ตั้งอยู่ที่วัดมหาชัย ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฏกคัมภีร์ใบลาน หนังสือหรือเอกสารธรรมะต่าง ๆ
ถือว่าเป็นห้องสมุดสำหรับพระภิกษุสามเณร ลักษณะรูปทรงเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง กั้นฝา อาจมีระเบียง และลูกกรงกั้นรอบ ๆ หลังคาแบบเดิมจะมุงด้วยแป้นไม้
ก่อสร้างอยู่กลางสระน้ำเพื่อป้องกันมอดปลวกหรือแมลงต่างๆ ติดต่อกับฝั่งโดยใช้สะพานชักเพื่อมิให้มีสิ่งเชื่อมต่อระหว่างฝั่งกับหอไตร



๕.๒ สิมไม้ (โบสถ์ไม้)
ตั้งอยู่ที่วัดเจริญทรงธรรม บ้านดอนปอ ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสิมที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เข้าใจว่ารูปแบบเป็นการ
สืบทอดจากสิมน้ำ มีรูปทรงกระทัดรัด ขนาดกว้างยาวไล่เลี่ยกันผนังตีฝาไม้กระดาน ฐานของโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน มีเสาไม้แก่นจำนวน ๑๒ ต้น สูงประมาณ
๑๒ เมตร หลังคาทรงสูงโปร่ง ทำให้บรรยากาศภายในเย็นสบาย ศิลปะการแกะสลักรูปพญาครุฑด้วยไม้ขนาด กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร สูง ๑ เมตร
ทราบว่าในภาคอีสานมีแห่งเดียวเท่านั้น ควรที่กรมศิลปากรจะขึ้นทะเบียนไว้ และรีบดำเนินการบูรณะปฏิสันขรณ์โดยด่วนก่อนที่จะทรุดโทรมมากไปกว่านี้





๕.๓ อาคารพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่ขาว อนาลโย
ตั้งอยู่ที่วัดถ้ำกลองเพล ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู สร้างด้วยหินแกรนิตที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่สวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติและ
คุณค่าทางศิลปะมาก โดยเฉพาะอาคารแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงิน ๑ ล้าน ๔ แสนบาท
เป็นปัจจัยสมทบทุนในการก่อสร้างอาคารหลังนี้จึงมีคุณค่าทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม และคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย

๖. อนุสาวรีย์ รูปปั้น





๖.๑ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นอนุสาวรีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จพักทัพ เมื่อ พ.ศ.๒๑๑๗ ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณหนองบัว หน้าที่ว่าการอำเภอ
เมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู สร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๐ โดยกรมศิลปากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ เสด็จ
มาทรงเปิด เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑





๖.๒ รูปปั้นและหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว อนาลโย
อริยสงฆ์แห่งวัดถ้ำกลองเพล เป็นอนุสาวรีย์สร้างด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อหลวงปู่ขาว ซึ่งสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาส วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงลิขิตเกี่ยวกับหลวงปู่ขาวไว้ว่า "เป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระอรัญวาสี มีจริยานุวัตรหนักแน่นมั่นคงในธรรมปฏิบัติที่ปรากฏต่อ
ศิษยานุศิษย์ผู้เคารพนับถืออย่างสนิทใจว่า ท่านเป็นผู้เห็นธรรมอย่างแท้จริง เพราะมีกาย วาจา ใจ สงบระงับอยู่ในทำนองคลองธรรมเป็นปกติวิสัย ไม่แสดง
อาการหวั่นไหวเพราะประสบอารมณ์น่าปรารถหรือไม่น่าปราถนาที่ผ่านเข้ามากระทบ คงดำรงอารมณ์มั่นคงตามหลักธรรม มีสติสัมปชัญญะอย่างสมบูรณ์
มีความเห็นรู้แจ้งเห็นจริงตรงตามความเป็นจริง ปล่อยให้อารมณ์ทั้งสองฝ่ายนั้นผ่านไปตามธรรมดา ไม่มีการยึดถือ ดังหยาดน้ำจากหัตถ์ลงใบบัว
ย่อมกลอกกลิ้งตกไปไม่ซึมซาบติดใบบัวฉะนั้น"นามฉายาของท่านว่า อนาลโยนั้น น่าชวนให้เข้าใจว่า หมายถึงชื่อตัว คือ ขาวนั่นเอง ที่จริงคำว่า อนาลโย
แปลว่า ไม่มีอาลัย คือ ไม่มีความถือห่วงใยในฐานะเป็นเจ้าของทั้งในบุคคล สัตว์ และพัสดุทั้งหลาย ทางธรรมถือว่าผู้ยังยึดมั่นถือมั่นอยู่เช่นนั้น เป็น
ผู้มีใจไม่สะอาดหมดจด เพราะมัวหมองด้วยการยึดถือเมื่อหมดยึดถือ ปล่อยวางด้วยรู้เท่าทันธรรมดา เป็นความเห็นชอบตามความจริง จึงเชื่อว่าใจสะอาด
บริสุทธิ์เห็นปานนี้ย่อมข้ามพ้นมัจจุราชได้ สมเป็นปูชนียะชั้นประเสริฐแท้จริง ศิษยานุศิษย์รักและเคารพนับถือ จึงควรบูชาคุณธรรมของท่านด้วยฝึกฝนปฏิบัติตน
ตามปฏิปทาที่ท่านมาจนตลอดอายุขัย เพื่อเป็นสักการะบูชาท่านผู้ทรงคุณควรบูชาจัดเป็นกตเวทีอย่างสมควรแท้

๗. สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง




๗.๑ บ่อน้ำวัดศรีคูณเมือง
เป็นบ่อน้ำก่อด้วยอิฐขนาดเดียวกับกำแพงเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ เมตร ลึกประมาณ ๕๐ เมตร มีน้ำใสสะอาดตลอดปี
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พ.ศ. ๒๑๐๖ ถือว่าเป็นบ่อน้ำคู่น้ำคู่เมืองเวลามีพระราชพิธีและพิธีสำคัญจะนำน้ำจากบ่อแท่งนี้ไปใช้ อาทิ
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

๗.๒ พระราชศรีสุมังค์
พระประธานในอุโบสถ์วัดศรีสุมังค์หายโศก บ้านลำภู เป็นพระพุทธรูปสมัยศิลปะล้านช้าง พระเกศสวมมงกุฏเหมือนกษัตริย์ สันนิษฐานว่าสร้างรุ่นเดียวกันกับ
วัดศรีคูณเมืองในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ชาวเมืองถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นประธานในพิธีถือถ้ำพระพิพัฒน์สัตยา และดื่มน้ำสาบาน ซึ่งมี
ความศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครผิดคำสาบานคนนั้นจะได้รับเคราะห์กรรมตามที่ได้ให้สัจจะไว้

๗.๓ พระไชยเชษฐาวัดถ้ำสุวรรณคูหา
พระเจ้าไชยเชษฐาเป็นนามพระพุทธรูปประธานในถ้ำสุวรรณคูหา ซึ่งให้เป็นสีมา (อุโบสถ) และวิหารประจำ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างขนาดใหญ่
ฐานกว้างประมาณ ๔ ศอก ปางมัจลินท์ คือพระพุทธรูปนาคปรก มีนาคปรก ๗ เศียร ลักษณะทั่วไปของนาคมีหน้าตาแบบศิลปะล้านช้างพระพุทธรูปไชยเชษฐา
ตั้งอยู่บนฐานชุกชีปูน ฐานสูงจากพื้นประมาณ ๑ เมตร ปูนปั้นพระพุทธรูปเรียกว่า ปูนสะทายเพชร(ปูนสะทายโบกอีกสูตรหนึ่งที่ใช้โบกผนังทั่วไป ซึ่งแข็งตัวดี
สะดวกในการใช้ปั้นลวดลาย และพระพุทธรูป มีส่วนผสม ดังนี้ ปูนขาว ๒ ส่วน ทราย ๕ ส่วน น้ำมันยาง ๑ ส่วน น้ำมะขาม ๒ ส่วน) โดยใช้อิฐเป็นโครงในและ
ใช้ปูนสะทายเพชรโบกทับ ปั้นแต่งให้มีรูปร่างตามความต้องการของฉะบับหรือสะบับ (ช่าง)
พระเจ้าไชยเชษฐานี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก เล่ากันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีงานบุญปิดทองไหว้พระประจำปีในเดือนสาม ขึ้น ๑๓-๑๖ ค่ำ
ทุกปี ประชาชนในละแวกใกล้เคียงจังหวัดอุดรธานี และ จ.หนองบัวลำภู จะมานมัสการพระเจ้าไชเชษฐาจำนวนมาก

๗.๔ พระมหาธาตุเจดีย์
ได้กล่าวไว้ในศิลาจาลึกหลักที่ ๒ (สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๙) ที่กล่าวว่า "พระยาสุรเทพเจ้าได้อุทิศข้าพระโยมสงฆ์ไว้กับพระมหาธาตุเจ้า ๕ ครอบครัว คือ
แสนศรีครัวหนึ่ง ทั้งเมียทั้งลูก แสนนันทสงครามครัวหนึ่ง เทพอาสาครัวหนึ่ง ทั้งเมียทั้งลูก นางกว้านกว่าครัวหนึ่ง ทั้งลูกทั้งหลาน อีบัวครัวหนึ่งทั้งน้องทั้งหลาน"
แสดงให้เห็นว่าพระมหาธาตุที่ประจำอยู่ในวัดสุวรรณคูหานี้เป็นพระธาตุเจดีย์สำคัญจนมีผู้เลื่อมใสศรัทธา อุทิศทาสดูแลพระมหาธาตุถึง ๕ ครอบครัว เรื่องพระมหา
ธาตุเจดีย์ในวัดสุวรรณคูหานี้ ชาวบ้านและพระสงฆ์ในวัดปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีพระมหาธาตุอยู่ในถ้ำวัดสุวรรณคูหา (ตามที่ศิลาจารึกได้กล่าวไว้) จากความเห็น
ของผู้เรียบเรียงเชื่อว่า "พระธาตุเจดีย์ขนาดย่อมที่สร้างไว้ในถ้ำสุวรรณคูหา อยู่ด้านหลังพระเจ้าไชยเชษฐาพระพุทธรูปประธานวิหารถ้ำสุวรรณคูหาน่าจะเป็น
"พระมหาธาตุ" ที่กล่าวไว้ในศิลาจาลึก (พ.ศ. ๒๑๖๙) ก็ได้" เพราะ สร้างไว้อยู่ด้านหลังพระวิหาร (ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาวพุทธจะนิยมสร้างพระมหาธาตุไว้อยู่
เบื้องหลังรพระวิหาร แต่อยู่นอกอาคารพระวิหาร แต่ในถ้ำสุวรรณคูหานี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ใช้เป็นพระวิหาร และมีสถานที่จำกัด (เพดานถ้ำไม่สูงมากนัก) จึงจำ
เป็นจะต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขนาดย่อม แต่ชาวพุทธและพระเถระสมัยโบราณทราบว่าเป็นพระมหาธาตุ จึงได้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาถวายข้าพระโยมสงฆ์ไว้ดูแล ทำ
ความสะอาดจัดเครื่องบูชา และรักษาเฝ้าเวรยาม ไว้ถึง ๕ ครอบครัว ดังปรากฏรายละเอียดในศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหาหลักที่ ๒ นั้นแล้ว ส่วนพระธาตุอื่น ๆ อีก
จำนวนมาก ซึ่งเป็นพระธาตุของพระเถระผู้ใหญ่ของวัดถ้ำสุวรรณคูหา ชาวพุทธก็ได้สร้างพระธาตุอัฐิเช่นเดียวกัน แต่สร้างอยู่เบื้องล่าง หน้าถ้ำเพิงผาอื่น ๆ หาได้
สร้างในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหมือนพระธาตุดังกล่าว





๗.๕ ศาลเจ้าปู่หลุบ
ตั้งอยู่บริเวณดอนหัน บ้านห้วยเชียง ริมถนนหนองบัวลำภู - อุดรธานี ทางหมายเลข ๒๑๐ จากตัวเมืองไปทางจังหวัดอุดรธานี ประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นสถานที่
พักผ่อนหย่อนใจที่ร่มรื่นด้วยป่าไม้นานาพันธุ์และโขดหินรูปต่าง ๆ แปลกตา บริเวณใกล้เคียงมีศาลเจ้า "ปู่หลุบ" ซึ่งเป็นที่เคารพและศรัทธาของประชาชนทั่วไป
เวลาขับรถผ่านเส้นทางสายนี้ จะบีบแตรสามครั้ง เพื่อขอให้เดินทางด้วยความปลอดภัยและประสบโชคดี บางทีมีคนไปบนบานศาลกล่าวเพื่อขอให้ปู่หลุบได้ช่วย
เหลือเมื่อประสบผลสำเร็จแล้ว ก็จะนำเหล้าไหไก่โตหรือไม่ก็หัวหมูไปถวายเป็นการแก้บน บางทีก็นำหมอลำซิ่ง หมอลำเพลินและภาพยนตร์แก้บนในเวลากลางวัน





๗.๖ ปโมทิตเจดีย์ อาคารพิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลอด
ปโมทิตเจดีย์ เป็นเจดีย์ ๓ ชั้น มีขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ความยาว ๔๒ เมตร ความสูง ๓๕ เมตร อยู่ที่วัดป่าศรีสว่าง ตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จ.หนองบัวลำภู
ประกอบด้วยชั้นที่ ๑ เป็นศาลาปฏิบัติธรรมและห้องประชุม ชั้นที่ ๒ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่หลอด ปโมทิโต ชั้นที่ ๓ เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสาริกธาตุ
โดยคุณวัลลภ จุติกุล และคณะได้เดินทางไปที่ประเทศเนปาล เพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพในพิธีมอบบรมสาริกธาตุ และได้นำมาประดิษฐาน ณ พระเจดีย์ อำเภอเมือง
จังหวัดหนองบัวลำภู และได้นำคณะญาติโยมผู้ศรัทธาได้ร่วมกันสร้างตั้งแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ เป็นเวลา ๖ ปี รวมค่าก่อสร้าง ๒๐,๑๗๑,๕๓๓.๓๕ บาท
เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ โดยหลวงปู่หลอดเป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระบรมสาริกธาตุ บรรจุปโมทิตเจดีย์ ทางวัดเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวัน
เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. สำหรับพระบรมสาริกธาตุ เปิดให้สาธุชนเข้าสักการะเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ดิน หิน แร่


ดิน หิน แร่



ดิน

ดิน(soil) หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกเกิดจากการแปลงสภาพหรือสลายตัวของหินแร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุผสมคลุกเคล้ากันตามธรรมชาติรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆเมื่อมีน้ำและอากาศที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพอยู่ได้

ส่วนประกอบของดิน

ดินมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน ดังนี้ คือ




1. ส่วนที่เป็นอนินทรีย์สาร ได้แก่ แร่ หิน ทราย เป็นต้น
2. ส่วนที่เป็นน้ำ คือ ความชื้นในดิน
3. ส่วนที่เป็นอากาศ คือ ช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่มีอากาศแทรกอยู่
4. ส่วนที่เป็นอินทรีย์สาร ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ที่สลายตัว มากน้อยแตกต่างกันและสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไส้เดือนและแมลงในดิน เป็นต้น


ชนิดของดิน
จำแนกตามลักษณะของเนื้อดิน มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

1. ดินเหนียว (Clay) คือ ดินที่มีเนื้อละเอียดที่สุด ยืดหยุ่นเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ ปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ พังทลายได้ยาก การอุ้มน้ำดี จับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ค่อนข้างสูงจึงมีธาตุอาหารพืชอยู่มาก
2. ดินทราย (Sand) เป็นดินที่เกาะตัวกันไม่แน่น ระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก อุ้มน้ำได้น้อย พังทลายง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารมีน้อย พืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณดินทรายจึงขาดน้ำและธาตุอาหารได้ง่าย
3. ดินร่วน (Loam) คือ ดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด นุ่มมือ ยืดหยุ่นพอควร ระบายน้ำได้ดีปานกลางมีแร่ธาตุอาหารพืชมากกว่าดินทรายเหมาะสำหรับใช้เพาะปลูก

การกำเนิดของดิน
เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้




ขั้นที่ 1 การผุพัง สลายตัว (Weathering) เป็นสาเกตุทำให้ชั้นหินแตกเป็นหินก้อนใหญ่ๆ หินชั้นนี้ เมื่อถูกแสงแดดและฝนตกก็จะแตกหักและผุพังเป็นชิ้นเล็กๆต่อไป
ขั้นที่ 2 ขบวนการสร้างดิน (Soil Forming Process) จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการผุพังสลายตัวของหินและ พืชจะเจริญงอกงามตามบริเวณรอยแตกของหิน แมลงเล็กๆ และสัตว์อื่นๆ เข้ามาอาศัยตามบริเวณรอยแตกเมื่อพืชและสัตว์ตายจะสลายตัวไปเป็นฮิวมัส
ขั้นที่ 3 สัตว์เล็กๆ ในดิน จะเคลื่อนที่ไปมาทำให้ฮิวมัสผสมกับเศษหินและแร่กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ เรียกว่า ดินชั้นบน


หน้าตัดดิน




ปัจจัยต่างๆ ของการกำเนิดดิน ทำให้ได้ดินที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างมาก ดินในภูมิประเทศหนึ่งๆ จะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เราเรียกภาคตัดตามแนวดิ่งของชั้นดิน เรียกว่า หน้าตัดดิน (Soil Horizon) หน้าตัดดินบอกถึงลักษณะทางธรณีวิทยา และประวัติภูมิอากาศของภูมิประเทศที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้นับพันปี รวมถึงว่ามนุษย์ใช้ดินอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุให้ดินนั้นมีสมบัติเช่นในปัจจุบัน ตลอดจนแนวทางที่ดีที่สุดในการใช้ดิน


การปรับปรุงคุณภาพของดิน
การปรับปรุงคุณภาพของดินให้เหมาะกับการเพาะปลูกมีหลายวิธี ดังนี้

•การใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มแร่ธาตุ จุดประสงค์ของการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มเกลือแร่ให้กับดินเกลือแร่บางชนิดจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นเกลือแร่ของาตุไนโตรเจนฟอสฟอรัสโพแทสเซียมและอื่นๆนอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มสารอินทรีย์ในดินอาจกระทำได้โดยใช้ปุ๋ยพืชสดใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักซึ่งปุ๋ยอินทรีย์เหล่านี้จะช่วยให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำได้ดีอากาศแทรกซึมได้สะดวกและลดอัตราการสูญเสียหน้าดิน
•การปรับความเป็นกรด - เบสของดิน ปัจจัยที่เพิ่มความเป็นกรด - เบสของดิน ได้แก่ การเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในดิน การใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด การใส่ปูนขาว โดยทั่วไปเป็นเพราะปริมาณแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมที่เกาะอยู่กับเม็ดดินมากน้อยต่างกัน จึงทำให้ดินแต่ละชนิดมีความเป็นกรด - เบส แตกต่างกัน
•การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชหมุนเวียนจะเป็นวิธีการที่ทำให้มีการเพิ่มสารอินทรีย์ในดินเพื่อการเพิ่มคุณภาพของดิน


หิน

หิน (Rocks) คือมวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกตนอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนตเนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทรสิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกายแพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือกเมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน


ประเภทของหิน
นักธรณีวิทยาแบ่งหินออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการเกิด คือ

•หินอัคนี
•หินตะกอน
•หินแปร


วัฏจักรหิน (Rock cycle)

เมื่อหินหนืดร้อนภายในโลก (Magma) และ หินหนืดร้อนบนพื้นผิวโลก (Lava) เย็นตัวลงกลายเป็น หินอัคนี ลมฟ้าอากาศ น้ำ และแสงแดด ทำให้หินผุพังสึกกร่อนเป็นตะกอน ทับถมกันเป็นเวลานานหลายล้านปี แรงดันและปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดการรวมตัวเป็น หินตะกอน หรือ หินชั้น การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและความร้อนจากแมนเทิลข้างล่าง ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็น หินแปร กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นวงรอบเรียกว่า วัฏจักรหิน (Rock cycle) อย่างไรก็ตามกระบวนการไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ หินอัคนี หินชั้น และหินแปร การเปลี่ยนแปลงประเภทหินอาจเกิดขึ้นย้อนกลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม




หินอัคนี

หินอัคนี (Igneous rocks) เป็นหินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด (Magma) จากชั้นแมนเทิลที่โผล่ขึ้นมา เราแบ่งหินอัคนีตามแหล่งที่มาออกเป็น 2 ประเภท คือ

•หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive igneous rocks) เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกแร่มีขนาดใหญ่ และเนื้อหยาบ เช่น หินแกรนิต หินไดออไรต์ และหินแกรโบร
•หินอัคนีพุ (Extrusive ingneous rocks) บางทีเรียกว่า หินภูเขาไฟ เป็นหินหนืดที่เกิดจากลาวาบนพื้นผิวโลกเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลึกมีขนาดเล็ก และเนื้อละเอียด เช่น หินบะซอลต์ หินไรออไรต์ และหินแอนดีไซต์

หินอัคนีแทรกซอน เย็นตัวช้าผลึกใหญ่


หินแกรนิต (Granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอนที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อหยาบซึ่งประกอบด้วยผลึกขนาดใหญ่ของแร่ควอรตซ์สีเทาใส แร่เฟลด์สปาร์สีขาวขุ่น และแร่ฮอร์นเบลนด์ หินแกรนิตแข็งแรงมาก ชาวบ้านใช้ทำครก เช่น ครกอ่างศิลา ภูเขาหินแกรนิตมักเตี้ยและมียอดมน เนื่องจากเปลือกโลกซึ่งเคยอยู่ชั้นบนสึกกร่อนผุพัง เผยให้เห็นแหล่งหินแกรนิตซึ่งอยู่เบื้องล่าง


หินไดออไรต์


หินแกรโบร



หินเพริโดไทต์

หินอัคนีพ ุ เย็นตัวเร็วผลึกเล็ก


หินไรโอไลต์ (Ryolite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลือง


หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม


หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี ( พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว




หินตะกอน

หินตะกอน หรือ หินชั้น (Sedimentary rocks) เป็น หินที่ถูกแสงแดด ลมฟ้าอากาศ และน้ำ หรือ ถูกกระแทก แล้วแตกเป็นก้อนเล็กๆ หรือผุกร่อน เสื่อมสภาพลง เศษหินที่ผุพังทั้งอนุภาคใหญ่และเล็กถูกพัดพาไปสะสมอัดตัวกัน เป็นชั้นๆ เกิดความกดดันและปฏิกิริยาเคมีจนกลับกลายเป็นหินอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดหินตะกอนหรือหินชั้น คือ การผุพัง (Weathering) การกร่อน (Erosion) และการพัดพา (Transportation)



ตัวอย่างหินตะกอน

รูป
ประเภท
หิน
แร่หลัก
ลักษณะ
ที่มา


หินตะกอนอนุภาค (Clastic rocks)
หินกรวดมน
Conglomerate
ขึ้นอยู่กับก้อนกรวดซึ่งประกอบกันเป็นหิน
เนื้อหยาบ เป็นกรวดมนหลายก้อนเชื่อมติดกัน
เม็ดกรวดที่ถูกพัดพาโดยกระแสน้ำ และเกาะติดกันด้วยวัสดุประสาน


หินทราย
Sandstone
ควอรตซ์ SiO 2
เนื้อหยาบสีน้ำตาล สีแดง
ควอรตซ์ในหินอัคนี ผุพังกลายเป็นเม็ดทรายทับถมกัน


หินดินดาน
Shale
แร่ดินเหนียว Al 2SiO 5(OH) 4
เนื้อละเอียดมาก สีเทา ผสมสีแดงเนื่องจากแร่เหล็ก
เฟลด์สปาร์ในหินอัคนี ผุพังเป็นแร่ดินเหนียวทับถมกัน


หินตะกอนเคมี (Chemical sedimentary rocks)
หินปูน
Limestone
แคลไซต์ CaCO 3
เนื้อละเอียดมีหลายสี ทำปฏิกิริยากับกรด
การทับถมกันของตะกอนคาร์บอนเนตในท้องทะเล


หินเชิร์ต
Chert
ซิลิกา SiO 2
เนื้อละเอียด แข็งสีอ่อน
การทับถมของซากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในท้องทะเล จนเกิดการตกผลึกใหม่ของซิลิกา




หินแปร

หินแปร คือ หินที่แปรสภาพไปจากโดยการกระทำของความร้อน แรงดัน และปฏิกิริยาเคมี หินแปรบางชนิดยังแสดงเค้าเดิม บางชนิดผิดไปจากเดิมมากจนต้องอาศัยดูรายละเอียดของเนื้อใน หรือสภาพสิ่งแวดล้อมจึงจะทราบที่มา อย่างไรก็ตามหินแปรชนิดหนึ่งๆ จะมีองค์ประกอบเดียวกันกับหินต้นกำเนิด แต่อาจจะมีการตกผลึกของแร่ใหม่ เช่น หินชนวนแปรมาจากหินดินดาน หินอ่อนแปรมาจากหินปูน เป็นต้น หินแปรส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระดับลึกใต้เปลือกโลกหลายกิโลเมตร ที่ซึ่งมีความดันสูงและอยู่ใกล้กลับหินหนืดร้อนในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ แต่การแปรสภาพในบริเวณใกล้พื้นผิวโลกเนื่องจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบก็คงมี นักธรณีวิทยาแบ่งการแปรสภาพออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การแปรสภาพสัมผัส (Contact metamorphism) เป็นการแปรสภาพเพราะความร้อน เกิดขึ้น ณ บริเวณที่หินหนืดหรือลาวาแทรกดันขึ้นมาสัมผัสกับหินท้องที่ ความร้อนและสารจากหินหนืดหรือลาวาทำให้หินท้องที่ในบริเวณนั้นแปรเปลี่ยนสภาพผิดไปจากเดิม
2. การแปรสภาพบริเวณไพศาล (Regional metamophic) เป็นการแปรสภาพของหินซึ่งเกิดเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลเนื่องจากอุณหภูมิและความกดดัน โดยปกติการเปรสภาพแบบนี้จะไม่มีความเกี่ยวพันกับมวลหินอัคนี และมักจะมี ริ่วขนาน (Foliation) จนแลดูเป็นแถบลายสลับสี บิดย้วยแบบลูกคลื่น ซึ่งพบในหินชีสต์ หินไนส์ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการการตกผลึกใหม่ของแร่ในหิน ทั้งนี้ริ้วขนานอาจจะแยกออกได้เป็นแผ่นๆ และมีผิวหน้าเรียบเนียน เช่น หินชนวน



ตัวอย่างหินแปร

หินแปร
แร่หลัก
หินต้นกำเนิด
คำอธิบาย


หินไนซ์ (gneiss)
ควอรตซ์
เฟลด์สปาร์
ไมก้า
หินแกรนิต
หินแปรเนื้อหยาบ มีริ้วขนาน หยักคดโค้งไม่สม่ำเสมอ สีเข้มและจางสลับกัน แปรสภาพมาจากหินแกรนิต โดยการแปรสภาพบริเวณไพศาล ที่มีอุณหภูมิสูงจนแร่หลอมละลาย และตกผลึกใหม่ (Recrystallize)


หินควอร์ตไซต์ (Quartzite)
ควอรตซ์

หินทราย (Sandstone)
หินแปรเนื้อละเอียด เนื้อผลึกคล้ายน้ำตาลทราย มีสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน โดยการแปรสภาพบริเวณไพศาลที่มีอุณหภูมิสูงมาก จนแร่ควอรตซ์หลอมละลายและตกผลึกใหม่ จึงมีความแข็งแรงมาก


หินชนวน (Slate)
แร่ดินเหนียว

หินดินดาน (Shale)
หินแปรเนื้อละเอียดมาก เกิดจากการแปรสภาพของหินดินดานด้วยความร้อนและความกดอัดทำให้แกร่ง และเกิดรอยแยกเป็นแผ่นๆ ขึ้นในตัว โดยรอยแยกนี้ไม่จำเป็นต้องมีระนาบเหมือนการวางชั้นหินดินดานเดิม หินชนวนสามารถแซะเป็นแผ่นใหญ่


หินชีตส์ (Schist)
ไมก้า

หินชนวน (Slate)
หินแปรมีเนื้อเป็นแผ่น เกิดจากการแปรสภาพบริเวณไพศาลของหินชนวน แรงกดดันและความร้อนทำให้ผลึกแร่เรียงตัวเป็นแผ่นบางๆ ขนานกัน


หินอ่อน (Marble)
แคลไซต์

หินปูน (Limestone)
หินแปรเนื้อละเอียดถึงหยาบ แปรสภาพมาจากหินปูน โดยการแปรสัมผัสที่มีอุณหภูมิสูงจนแร่แคลไซต์หลอมละลายและตกผลึกใหม่ ทำปฏิกิริยากับกรดทำให้เกิดฟองฟู่ หินอ่อนใช้เป็นวัสดุตกแต่งอาคาร




แร่

แร่ (Mineral) หมายถึง ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ ( ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต) ที่มีสถานะเป็นของแข็ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมีโครงสร้างภายในที่เป็นผลึก มีสูตรเคมีและสมบัติอื่นๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด ตัวอย่างเช่น แร่เฮไลต์ ( เกลือ) เป็นสารประกอบ (Compound) ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของโซเดียมและคลอรีนจำนวนเท่ากัน เกาะตัวกันอยู่ ทั้งนี้ผลึกเกลือขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์หลายล้านโมเลกุล

คุณสมบัติทางกายภาพของแร่
•ผลึก ( Crystal) หมายถึง ของแข็งที่มีเนื้อเดียวกัน มีรูปทรงสามมิติ ผิวหน้าแต่ด้านเป็นระนาบ ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดตัวของอะตอมหรือโมเลกุลของธาตุที่ประกอบอยู่ในของแข็งนั้นอย่างมีแบบแผน
•แนวแตกเรียบ (Clevage) หมายถึง รอยที่แตกเป็นระนาบเรียบตามโครงสร้างอะตอมในผลึกแร่
•แนวแตกประชิด (Fracture) หมายถึง แนวแตกบางๆ ซึ่งปรากฏเป็นแนวขนานบางๆ หลายแนวบนเนื้อแร่ และมิได้อยู่ในระนาบเดียวกับแนวแตกเรียบ
•ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) เป็นอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของสสารต่อน้ำหนักของน้ำ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ
•ความแข็ง (Hardness) มาตราความแข็งของแร่ตามระบบสเกลของโมล (Mol’s scale) ประกอบด้วยแร่มาตรฐาน 10 ชนิด เรียงลำดับตั้งแต่แร่ที่ทนทานต่อการขูดขีดน้อยที่สุด ถึงมากที่สุด ตามตาราง

ค่าความแข็ง
แร่
วัตถุที่ใช้ทดสอบ

1
ทัลก์
ปลายนิ้ว

2
ยิปซัม
เล็บ

3
แคลไซต
เหรียญบาท

4
ฟลูออไรต์
มีดพก

5
อพาไทต์
กระจก

6
ออร์โทเคลส
เหล็กกล้า

7
ควอรซต์
กระเบื้อง

8
โทปาส
-

9
คอรันดัม ( พลอย)
-

10
เพชร
-



•สี (Color) เป็นคุณสมบัติที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดแต่เชื่อถือไม่ได้ แร่บางชนิดเช่น แร่ควอรตซ์ (SiO2) ปกติใสไม่มีสี แต่ที่พบเห็นส่วนมากจะมีสีขาว เหลือง ชมพู หรือดำ เนื่องมีสารอื่นเจือปนทำให้ไม่บริสุทธิ์ แร่คอรันดัม (Al2O3) โดยปกติมีสีขาวอมน้ำตาลขุ่น แต่เมื่อมีธาตุโครเมียมจำนวนเล็กน้อยเจือปน ก็จะมีสีแดงเรียกว่า “ ทับทิม” (Ruby) หรือถ้ามีธาตุเหล็กเจือปน ก็จะมีสีน้ำเงินเรียกว่า “ ไพลิน” (Sapphire)
•สีผงละเอียด (Streak) เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของแร่แต่ละชนิด เมื่อนำแร่มาขีดบนแผ่นกระเบื้อง ( ที่ไม่เคลือบ) จะเห็นสีของรอยขีดติดอยู่แผ่นกระเบื้อง ซึ่งอาจมีสีไม่เหมือนกับชิ้นแร่ก็ได้
•ความวาว (Luster) หมายถึง คุณสมบัติในการสะท้อนแสงของผิวแร่ ความวาวมีหลายแบบ เช่น วาวแบบโลหะ แบบมุก แบบเพชร แบบน้ำมัน แบบแก้ว เป็นต้น
•ความเป็นโลหะและอโลหะ ( Metal and Nonmetal) เป็นสมบัติพื้นฐานของแร่ ต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันในด้านสมบัติ ความเป็นโลหะและอโลหะ เช่น การนำไฟฟ้า การนำความร้อน การเกิดสารประกอบ เป็นต้น

การจำแนกแร่

การจำแนกแร่ สามารถจำแนกออกได้ 4 ประเภท

1. แร่โลหะและแร่อโลหะ เป็นแร่ที่อยู่ในหินทั่วไป

แร่โลหะมีออกไซของโลหะ ซึ่งประกอบโลหะ กับออกซิเจน การนำแร่โลหะมาใช้ให้เกิดประโยชน์จะต้องทำการถลุงแร่ให้ได้โลหะบริสุทธิเสียก่อน โลหะที่ยังไม่ผ่านการถลุงเรียกว่า สินแร่ เช่น ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก ทองแดง แมงกานีส พลวง โครเมียม

ตัวอย่างแร่ที่สำคัญ
แร่อโลหะ

รูปภาพ
แร่
ประเภท
สูตรเคมี
รูปผลึก
ความแข็ง
ถ . พ.
สีผง
การนำไปใช้


ควอรตซ์
ซิลิเกต
SiO 2

7
2.7
ขาว
ทราย


เฟลด์สปาร์
ซิลิเกต
Al 2Si 2O 6

6
2.5
ทราย
ดิน


ไมก้า
ซิลิเกต
(AlSi) 4O 10(OH) 2

3
3
ขาว / ดำ
ทำฉนวน


แคลไซต์
คาร์บอเนต
CaCO 3

3
2.7
ขาว
ปูนซีเมนต์


เพชร
ไม่รวมกับธาตุอื่น
C

10
3.5
ไม่มีสี
เครื่องประดับ


กราไฟต์
ไม่รวมกับธาตุอื่น
C

1 - 2
2.2
ดำ
ไส้ดินสอ


เฮไลต์
เฮไลด์
NaCl

2.5
2.2
ขาว
เกลือ




แร่โลหะ

รูปภาพ
แร่
ประเภท
สูตรเคมี
รูปผลึก
ความแข็ง
ถ . พ.
สีผง
การนำไปใช้


ทอง
ไม่รวมกับธาตุอื่น
Au

2.5 - 3
19.3
ทอง
เครื่องประดับ


ฮีมาไทต์
ออกไซด์
Fe 2O 3

5 - 6
5
แดง
สินแร่เหล็ก


กาลีนา
ซัลไฟด์
PbS

2.5
7.5
เทา
สินแร่ตะกั่ว



แร่อโลหะไม่ต้องการถลุงสามารถที่จะขุดมาใช้ได้เลย มีดังนี้

แร่
ประโยชน์

1. กำมะถัน ทำดินปืน ไม้ขีดไฟ ใช้ในอุตสาหกรรม
2. ใยหิน
ทำวัสดุทนไฟ

3. ยิปซัม
ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์

4. ฟลูออไรด์
ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี

5.โพแทสเซียม
ทำปุ๋ย

6. ฟอสเฟต
ทำปุ๋ย อาหารสัตว์

7. แกรไฟต์
ทำดินสอ ขั้วไฟฟ้า

8. ไมกา
ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า

9. ควอตช์
ทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์ วัสดุขัดรังสี อุตสาหกรรมใยแก้ว

10.เฟลด์สปาร์
เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา




2. แร่รัตนาชาติ เป็นแร่อโลหะที่สามารถนำมาเจียระไนหรือขัดมันให้เกิดความสวยงาม มีความเด่นชัด ของสี ความวาว การให้แสงผ่าน การกระทบแสง นิยมนำมาทำเครื่องประดับโดยการขายเป็นกระรัต เช่นไพลิน หยก เพทาย มรกต โกเมน เป็นต้น

3. แร่กัมมันตรังสี เป็นสภาพของนิวเคลียสไม่เสถียร จะมีการปล่อยรังสีออกมาจากอะตอมอยู่ตลอดเวลา จัดเป็นแร่ที่ให้พลังงานที่มหาศาล ปัจจุบันรังสีที่ปลดปล่อยออกจาก แร่กัมมันตรังสี มาใช้ประโยชน์ เช่น การรักษาโรค ผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

4. แร่เชื้อเพลิง เป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน น้ำมันดิบหรือน้ำมันปิโตรเลียม



การอนุรักษ์ทรัพยากรธรณี

ทรัพยากรธรณีทุกชนิดเมื่อนำมาใช้ย่อมหมดไป การสร้างขึ้นใหม่อาจจะต้องใช้เวลานานหรือบางอย่างไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ จำเป็นต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีตามแนวทางต่อไปนี้

1. การสำรวจ การสำรวจทรัพยากรธรณีมีประโยชน์ในด้านการลงทุนว่าผลตอบแทนจะคุ้มต่อการลงทุนหรือไม่ เช่น การสำรวจแหล่งแร่ แหล่งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

2. การป้องกัน การป้องกันจะช่วยไม่ให้ทรัพยากรธรรมชิตถูกทำลาย เช่น ป้องกันไม่ให้ดินถูกกร่อนด้วยแรงลมหรือน้ำ

3. การลดอัตราการเสื่อมสูญ โดยการนำทรัพยากรที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น การกลั่นน้ำมัน ในขั้นตอนการกลั้นโดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะได้ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เป็นประโยชน์ เช่น นำมาเป็นพลาสติก ปุ๋ย ใยสังเคราะห์ เป็นต้น

4. การปรับปรุงคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพเพื่อจะได้มีอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้น เช่น การนำเหล็กมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ควรจะหาทางป้องกันการเกิดสนิมเหล็ก โดยการทาสี การเคลือบ เป็นต้น

5. การใช้สิ่งอื่นทดแทน เช่น การใช้อะลูมิเนียม คอนกรีต หรือพลาสติกแทนเหล็ก เป็นต้น นำกลับมาใช้ได้อีกครั้งโดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ระบบนิเวศป่าชายเลน


ระบบนิเวศป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ ระหว่างผืนแผ่นดินกับพื้นน้ำทะเลในเขตร้อน และกึ่งร้อน ของโลกซึ่งมีป่าชายเลนขึ้นอยู่เป็นระบบที่นำเอาทรัพยากรน้ำ ดิน และแร่ธาตุอาหารต่างๆ จากบกและทะเลมาปรุงแต่งให้เป็นแหล่งทรัพยาการที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าสูง ขณะเดียวกันตัวเองจะทำหน้าที่เป็นป้อมปราการที่คอยปกป้องและรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหาร ของมวลมนุษยชาติอย่างยั่งยืน
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของป่าชายเลนมีความแตกต่างออกไปอย่างมากจากป่าชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะดิน เนื่องจากมีสภาพเป็นดินเลนในที่ราบกว้างใหญ่ ดินเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์สูงจากธาตุอาหารที่ไหลมาจากแหล่งต่างๆ เช่น จากการกันเซาะตามชายฝั่งและแหล่งน้ำลำธาร อีกส่วนหนึ่งมาจากซากพืชซากสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนเอง โดยเฉพาะใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก แพลงค์ตอนพืชและสาหร่าย ส่วนสภาพความเค็มของน้ำบริเวณนี้มีระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีน้ำจืดไหลลงมาปะปนกับน้ำทะเลจึงทำให้น้ำบริเวณนี้เป็นน้ำกร่อย ระดับความเค็มของน้ำดังกล่าวยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามระดับน้ำที่ขึ้นลงเป็นประจำ กล่าวคือ ระดับความเค็มจะสูงขึ้นเมื่อน้ำขึ้น และในขณะที่อยู่ในช่วงน้ำเกิด น้ำทะเลจะสามารถไหลเข้าสู่ป่าชายเลนได้เป็นระยะทางไกลขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางกลับกันกับน้ำลงและช่วงน้ำตายตามลำดับ

ลักษณะทางกายภาพดังกล่าวมีผลต่อชุมชนในป่าชายเลนเป็นอย่างมาก โดยมีผลทางตรงต่อชนิดและการกระจายของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ดังจะเห็นได้จากป่าชายเลนแหล่งต่างๆของโลก พันธุ์ไม้จะขึ้นอยู่ในลักษณะเป็นเขตแนวของแต่ละชนิด โดยมีแบบแผนแน่นอนจากบริเวณฝั่งน้ำเข้าไปด้านในของป่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากป่าบกทั่วไป ทั้งนี้เพราะลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ป่าที่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกันตั้งแต่ชายฝั่งถึงส่วนที่อยู่ลึกเข้าไป พันธุ์ไม้ต่างๆที่มีการปรับตัวมาจนขึ้นอยู่ได้ในเขตนี้ แม้จะปรับตัวมาในลักษณะคล้ายกัน แต่ยังคงมีความแตกต่างกันในบางส่วน ที่ทำให้สามารถเจริญและแพร่กระจายอยู่ได้ในบริเวณต่างกันของป่าชายเลนโดยเฉพาะบริเวณที่มีสภาพเป็นดินเลนลึก มีน้ำท่วมถึงเสมอกับบริเวณที่เป็นดินเลนตื้น และมีน้ำท่วมถึงเป็นบางครั้งบางคราว พันธุ์ไม้ที่จะขึ้นได้ในบริเวณที่เป็นดินเลนลึกจึงต้องมีรากค้ำจุนที่แข็งแรงเป็นจำนวนมาก รากเหล่านี้ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงอยู่ได้ไม่โค่นล้มเมื่อถูกพายุพัดหรือคลื่นซัด ได้แก่ พันธุ์ไม้พวก โกงกาง ต้นอ่อนจึงสามารถเจริญเติบโตตั้งแต้อยู่บนต้นแม่จนกระทั่งพร้อมที่จะงอกรากและเติบโตเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงทันทีที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน

สำหรับสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่างก็ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากสัตว์ในป่าบกทั่วไปเช่นกัน สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามเรือนยอดของพันธุ์ไม้ต่างๆในป่าชายเลนเป็นพวกที่ไม่จำเป็นต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะ ได้แก่ นก แมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดต่างๆ เช่น ลิง หนูค้างคาว เสือปลา นาก และแมวป่า รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด เต่า และงู เป็นต้น สัตว์พวกนี้อาจมีการอพยพไปมาจากป่าชายเลนสู่ป่าข้างเคียงได้ แต่สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอดเนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัว และสภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สัตว์พวกนี้ได้แก่ หอย ปู กุ้ง หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน ไส้เดือนทะเล และครัสเตเชียน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามชุมชนในป่าชายเลนจะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆจำนวนมากที่สามารถปรับตัวอยู่ได้และแพร่ลูกแพร่หลานเป็นจำนวนมาก ทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดก็ได้อาศัยวางไข่และอนุบาลตัวอ่อนในบริเวณนี้ โดยบางชนิดอาศัยอยู่จนครบวงจรของชีวิต

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนในแง่ของการถ่ายทอดพลังงาน เป็นแบบที่เริ่มต้นด้วยเศษอินทรียสาร (detritus) ซึ่งได้จากการสลายตัวของใบไม้ในบริเวณป่าชายเลนโดยจุลินทรีย์ผู้ย่อยสลาย อินทรียวัตถุเหล่านี้จะเป็นอาหารของพวกกินเศษอินทรียวัตถุ เช่น แอมฟิพอด หอย กุ้ง ปู และตัวอ่อนของแมลงต่างๆ จากพื้นก็จะถูกกินต่อๆกันไปตามลำดับขั้นของลูกโซ่อาหาร

วิธีสร้างสุข







วิธีสร้างสุข ปลดทุกข์

หากความทุกข์ เป็นเพียงวัตถุอย่างหนึ่ง ที่อยู่ในมือของเรา และเพียงแค่เราแบมือออกมา แล้วปล่อยทิ้งลงไป ก็สามารถปล่อยวางความทุกข์ ลงได้ โลกเรานี้คงจะไม่มีความทุกข์ .. ชีวิตของทุก ๆ คนคงจะมีแต่ความสุข ไม่มีความเร่งรีบ หรือความวิตกกังวลใจ อันจะเป็นหนทางนำร่างกาย และสุขภาพจิตไปในทางที่ย่ำแย่ ถึงแม้เราจะไม่สามารถปลดปล่อยความทุกข์ไปได้ 100% แต่เราก็มีวิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้คุณมีความสุขกายสบายใจมาฝาก ทำได้ไม่ยากเลยลองมาเริ่มกันเถอะ..

หาพระเอกในดวงใจ

การมีคนประทับใจ เอาไว้เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เรามีกำลังใจ เดินไปในทางที่ถูกต้อง เพียงแต่ไม่ควรที่จะยึดคน ๆ นั้นไว้เป็นแบบอย่างแค่คนเดียว เพราะคนๆ หนึ่งอาจมีข้อดีและข้อด้อยได้ ซึ่งบางครั้งเราเจอเหตุการณ์หนึ่งอาจนึกถึงคนหนึ่ง แต่กับอีก เหตุการณ์ ก็จะนึกถึงอีกคน โดยดูว่าเขามีวิธีรับสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร แต่คุณไม่ควรลืมว่าแต่ละคนก็มีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน

หาแรงบันดาลใจ

การมีแรงบันดาลใจอะไรสักอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ส่วนเล็กน้อย ก็อาจเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยง และเติมความสุขให้แก่ชีวิตคนบาง คนให้อยู่ได้ยาวนานเลยทีเดียว ซึ่งแรงบันดาลใจในที่นี้ อาจใช้เพียงเสียงเพลงที่ชอบ คำพูดที่น่าประทับใจ จะเป็นอะไรก็ได้ที่ให้กำลังใจเรา ในการดำเนินชีวิต

ค้นหาความหมายของชีวิต

บางครั้งคุณอาจเกิดคำถาม ที่มาพร้อมความสงสัยในตัวเองว่า คุณกำลังทำอะไรอยู่ การค้นหาความหมายของชีวิต จะช่วยทำให้คุณมีความสุข ซึ่งความสุขที่ได้นั้นเกิดจากการที่คุณรู้ว่า เป้าหมายของชีวิตคืออะไร

ทำใจกับสิ่งที่แตกต่าง

บางคนเป็นคนที่ต้องสร้างกฎเกณฑ์ ให้กับตัวเอง พอพบเจอสิ่งที่เป็นเรื่องแปลกก็ไม่ยอมรับ ซึ่งอาจเป็นเรื่องธรรมดาที่รอบๆ ตัวเราจะ มีสิ่งที่ขัดความรู้สึก จนพาลทำให้ขาดความสุข เป็นอันว่าคุณควรจะพยายามที่จะชื่นชมกับความต่างเหล่านั้นดูบ้าง จะช่วยให้ความเครียด ลดลงได้ ลองหัดยอมรับความแตกต่างดูบ้างจะทำให้ช่องว่างลดลง ปัญหาก็ไม่เกิดแต่สิ่งที่เกิดคือความเข้ากันได้ คือความสุข

ช่วยเหลือคนอื่น

สมัยนี้ การช่วยเหลือคนอื่นเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถจะทำให้คุณมีความสุขได้ เพราะการช่วยเหลือจะส่งผลให้มีความสุขอันเกิดจากการให้ และยังจะทำให้อีกชีวิตหนึ่งมีความหมายมากขึ้นนั่นเรียกว่า ความสุขในอีกมุมหนึ่ง

นวดผ่อนคลาย

การนวดเพื่อคลายเครียดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งๆ ละ 30 นาที จะทำให้ร่างกายสดชื่นเกิดความสุขได้ ช่วยผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี เช่น การนั่งทำงานนานๆ หรือ ยืนนานๆ จะทำให้เกิดการกดทับ เกิดความไม่สบายตัว จนอาจส่งผลต่อ อารมณ์อย่างแน่นอน ปัจจุบันนี้ สถานที่ซึ่งให้บริการนวดก็มีมากมาย คุณสามารถเลือกรูปแบบบริการที่ต้องการ หรือจะใช้การนวดเพื่อช่วยสร้างเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยผลัดเปลี่ยนกันนวดผ่อนคลายก็ยิ่งดี

การออกกำลังกาย

เลือกออกกำลังกาย ตามความถนัดของแต่ละคน จัดว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ถือว่าได้ผลที่สุด ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องเข้าฟิตเนสก็ได้ โดยอาจใช้วิธีเดินเล่น ขึ้นบันไดแทนการขึ้นลงลิฟท์ วิ่งเหยาะ ๆ ในสวนสาธารณะเปลี่ยนบรรยากาศ หรืออาจตรวจดูตัวเองว่าส่วนไหนเริ่มแย่ เริ่มย้อย ก็รีบออกกำลังกายเน้นเฉพาะส่วนนั้นมากขึ้น จะได้ใส่เสื้อผ้าให้ดูดีขึ้น เท่านี้คุณก็มีความสุขมากขึ้นได้ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างความตื่นตัวให้กับร่ายกายและจิตใจ โดยการออกกำลังกายหรือขยับร่างกายนั้นจะส่งให้ระบบเส้นประสาทที่ชื่อว่า Norepinephrine ทำงานได้ดี ช่วยให้คนเรามีความสุขมากขึ้น

บริหารสมอง

การจัดระบบความนึกคิดของเราให้เป็นไปในทางบวกเป็นอีกแนวทางในการบริหารสมอง คือมองหรือคิดในแง่ดี และวิธีนี้จะช่วยให้ สบายใจลดความวิตกกังวลลงได้เป็นดี ความผิดพลาดหรือความกลัวที่จะเกิดจากความผิดพลาด หรือความกลัวที่จะล้มเหลว จะเห็นได้ว่า ความคิดในแง่ร้ายจะไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ความสุขก็หมดไปด้วย

แกล้งทำตัวเป็นเด็กๆ บ้าง

การได้กลับไปเป็นเด็กก็คงมีความสุขไม่น้อย เรื่องที่เรานึกถึงสมัยเป็นเด็ก บางครั้งแค่คิด ความสุขก็กลับมาเยือนอีกครั้ง เช่น เมื่อเป็น เด็กไม่เคยได้เล่นน้ำคลองแบบเด็กๆ ข้างบ้านอื่นๆ เพราะพ่อแม่ไม่มีเวลาคอยดูแล พอมาวันนี้นึกสนุก วิ่งไปโดดน้ำคลองแล้วเล่นน้ำให้สะใจ ไม่ต้องกลัวใครว่า ซึ่งความต้องการในวัยเด็กมักจะสะท้อนความต้องการลึกๆ ที่เป็นตัวตนของเรานั่นเอง ฉะนั้นลองทำตัวเป็นเด็กดูซิ

หัวเราะวันละนิด

“หัวเราะวันละนิด ชีวิตสดใส” การหัวเราะมากขึ้นจะทำให้ช่วยลดความเครียด ลดความดันเลือด อีกทั้งจะช่วยให้สุขภาพ โดยรวมแข็งแรงมากขึ้น จะเห็นได้ว่า คนที่มีความสุขมักจะมีสีหน้าแช่มชื่น ยิ้ม และหัวเราะ ซึ่งการหัวเราะอาจกลายเป็นสัญลักษณ์ของ ความสุขไปเลย หากลองมานับดูว่าวันนี้หัวเราะไปกี่ครั้ง ถ้ายังไม่มากพอ ลองหาวิธีกระตุ้นเสียงหัวเราะคุณดู...รับรองว่าได้ความสุขคุ้ม

การทำทองพับ


ทองพับ / ทองม้วน โอวันติน นำสูตรทองม้วน ทองพับ เพื่อสุขภาพมาฝากแฟน ๆ ชาวส้มซ่าค่ะ สูตรนี้รับประกันความหอม และแปลกไม่เหมือนใคร ที่สำคัญรับประกันความอร่อยค่ะ ไม่เชื่อใช่ป่าว งั้นต้องลอง ^^

ส่วนผสม





แป้งมัน 1+1/2 ถ้วย
แป้งสาลีอเนกประสงค์ ¼ ถ้วย
กะทิ 1+1/2 ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ/ น้ำตาลโตนด ½ ถ้วย
เกลือป่น 1 ช้อนชา
ไข่ไก่ 1 ฟอง
โอวันติน3IN1 1 ซอง
งาดำ / งาขาวคั่ว อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ

ลุยกันเลย


1. เตรียมอ่างผสม ผสมแป้งทั้ง 2ชนิดเข้าด้วยกัน ตามด้วย โอวันติน คนให้เข้ากันอีกครั้งนะจ๊ะ


2. ใส่น้ำตาลปี๊บ และไข่ไก่ตามลงไป


3. ใช้พายคนส่วนผสมให้พอเข้ากันก่อน


4. จากนั้นนำกะทิ เทใส่ลงไปในส่วนของแป้ง


5. การใส่กะทิจะค่อย ๆ ทยอยใส่นะจ๊ะ อย่าใส่ครั้งเดียวหมด จากนั้นให้มือนวดแป้งให้เข้ากัน


6. นวด ๆ ขยำ ๆ น้ำตาลให้ละลายกันแป้งให้หมดอย่าให้เป็นเม็ด และค่อย ๆ ใส่กะทิไปเรื่อย ๆ จนหมด


7. ส่วนผสมแป้งที่ได้จะไม่เป็นเม็ด เนียน ๆ เหลว ๆ นะจ๊ะ (ปล.ที่เห็นขาว ๆ มะช่ายแป้งนะ เป็นกะทิ พอดีเอาเข้าตู้เย็นไว้มันเลยมีเป็นก้อนนิด ๆ ^^”)


8. เติมงาขาวและงาดำคั่ว


9. คนให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้งค่ะ เตรียมนำไปทำขนมได้เลย


มาปิ้งทองม้วน / ทองพับกันเถอะ


- วันนี้ใช้พิมพ์ไฟฟ้านะจ๊ะ ^^ ผู้มีอุปการะคุณ(คนข้าง ๆ ) เค้าซื้อให้ตอนปีใหม่ เลยได้โอกาสใช้เลย พิมพ์ตัวนี้ทำได้หลายอย่าง เช่น กรวยไอศกรีม , ทองม้วน , ทองพับ และคิดว่าน่าจะทำตูเล่ย์ได้ด้วย(มั้ง) คราวหน้าจะลองทำดู ข้อดีของพิมพ์ตัวนี้คือเป็นเทปล่อนไม่ติดค่ะ จึงไม่จำเป็นต้องทาไขมันตลอด คือทำไปซัก 10 แผ่นค่อยทาน้ำมันซักครั้งก็ได้ และสามารถปรับความร้อนได้ตามต้องการค่ะ (ส้มใช้เบอร์ 1 )^^


- เตรียมพิมพ์ให้ร้อน (หากเป็นพิมพ์ก้าน หรือไฟฟ้า ก็ต้องวอล์มหรือผิงไฟให้ร้อนก่อนค่ะ) จากนั้นทาน้ำมันพืชบาง ๆ ที่พิมพ์ เพื่อไม่ให้ขนมติด


- ตักแป้งหยอดลงไปบนพิมพ์ค่ะ (ประมาณ 2 ช้อนชา) ดูขนาดของพิมพ์ด้วยนะจ๊ะ


- จากนั้นปิดฝาค่ะ (ทั้งแบบก้าน และไฟฟ้าทำเหมือนกันหมดทุกอย่างนะจ๊ะ) ถ้าเป็นแบบก้านก็ปิ้งค่ะ ปิ้งบนเตาถ่าน / เตาแก๊สนั่นแหละ จนขนมสุก ส่วนอันนี้ปรับความร้อนตามคู่มือเตาค่ะ จนขนมสุกเช่นกัน


- ขนมสุกเหลืองทั้ง 2 ด้าน แซะขนมออกจากพิมพ์ (ครูส้มใช้ไม้พายจิ๋วค่ะ) ปล. ครูส้มหยอดไม่เต็มพิมพ์นะจ๊ะ เพราะอยากได้ขนาดพอเหมาะ และไม่ชอบหนาเกินค่ะ (อันนึ้แล้วแต่ชอบนะจ๊ะ)


- จากนั้นนำพับเป็นกรวย ตามชอบ


- หรือจะม้วนด้วยไม้ม้วน (ครูส้มใช้ตะเกียบเทมปุระ^^) ม้วนให้แน่น


- หรือจะพับครึ่ง แล้วใช้แก้วทับก็ได้นะจ๊ะ ปล. ที่ทำมาทั้งหมด ชอบแบบนี้ที่สุดเพราะง่ายดีค่ะ หรือจะพับเป็นกรวยเหมือนขนมทองพับก็ได้ค่ะ พับแล้วนำมาใส่แก้วเพื่อให้อยู่ตัวก่อนเก็บใส่กล่อง


- พักขนมให้อยู่ตัว หรือจนเย็น



- จากนั้นดึงไม้ออกเก็บสใส่กล่องหรือถุงพลาสติกปิดสนิท เพื่อแจกจ่ายต่อไปค่ะ : ทำด้วยใจให้ด้วยรัก


เคล็ดลับจากครูส้ม


1. ส่วนผสมของแห้ง ต้องตวงด้วยถ้วยตวงของแห้ง ส่วนผสมของ ๆ เหลว (กะทิ) ต้องตวงด้วยถ้วยตวงของเหลวนะจ๊ะ
2. การนวดแป้งกับน้ำตาล ต้องขยำน้ำตาลให้ละลายกับแป้งให้หมด มิเช่นนั้นขนมจะเป็นเม็ด
3. เนื้อแป้งที่ได้ จะเหลวนะจ๊ะ หอมน้ำตาลและงาค่ะ ปิ้งเสร็จจะหอมโอวันตินด้วยละ^^


4. อย่าหยอดแป้งหนาไปค่ะ มันจะล้นออกจากพิมพ์ ทำให้เลอะเทอะ และไหม้ได้ง่าย
5. พิมพ์ต้องทาน้ำมันทุกครั้งที่จะหยอดแป้งนะจ๊ะ
6. ก่อนหยอดแป้งทุกครั้ง จะต้องคนส่วนผสมก่อนค่ะ เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันดี


7. กะไฟให้ดีอย่าใจร้อน เปิดพิมพ์บ่อย ๆ ขนมจะสุกช้า และไม่กรอบนะจ๊ะ (มันจะออกเหนียว ๆ อะ ^^”)
8. หากไม่มีไม้เทมปุระ(หาได้ง่ายสุด) ก็ใช้ไม้ไผ่ปล้องเล็ก ๆ ก็ได้ค่ะ แต่ครูส้มหาไม้ไผ่ขนาดที่ต้องการไม่ได้ค่ะ มีอันนี้ใช้ง่ายกว่าเยอะเลย
9. สามารถเปลี่ยนรสชาติได้ตามชอบ เช่นชาเขียว , กาแฟ , โกโก้ เป็นต้นค่ะ