วัฒนธรรมท้องถิ่น ในแต่ละท้องถิ่นจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนี้ ๑. วัฒนธรรมทางภาษา คนไทยทุกภาคทุกท้องถิ่นได้สืบทอดวัฒนธรรมทางภาษามาอย่างต่อเนื่อง ทุกคนใช้ภาษาไทย แต่มีสำเนียงแตกต่างกัน เรียกว่า "ภาษาถิ่น" เช่น ภาษาไทยในท้องถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ แต่เราสามารถใช้สื่อสารทำความเข้าใจได้ ๒. วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการกิน ในแต่ละท้องถิ่นมีการปรุงอาหารซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน โดยใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกัน และอาหารที่มีรสชาติแตกต่างกัน ตามรสนิยมของแต่ละภาค ภาคเหนือ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ไส้อั่ว แกงโฮะ แกงฮังเล ภาคกลาง เช่น ต้มยำกุ้ง น้ำพริก-ปลาทู แกงเขียวหวาน ภาคอีสาน เช่น ส้มตำ ซุปหน่อไม้ ลาบ แกงอ่อม ภาคใต้ เช่น แกงส้ม แกงไตปลา ข้าวยำน้ำบูดู ขนมจีนปักษ์ใต้
น้ำพริกหนุ่ม ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ขนมจีนปักษ์ใต้
๓. การละเล่นพื้นเมือง ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาถิ่น และดนตรีพื้นเมือง ภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ดนตรีพื้นเมือง เช่น สะล้อ พิณ ซึง ภาคกลาง เช่น เพลงเรือง ลำตัด ลิเก เต้นกำรำเคียว ภาคอีสาน เช่น หมอลำ เซิ้ง เครื่องดนตรีที่สำคัญ คือ แคน ภาคใต้ เช่น รำมโนราห์ หนังตะลุง รองเง็ง เพลงบอก
ฟ้อนเล็บ ลิเก เซิ้ง รำมโนราห์
๔. ประเพณีพื้นเมือง ภาคเหนือ เช่น ประเพณีสืบชะตา เป็นพิธีต่ออายุให้แก่ตนเอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล ประเพณีปอยน้อย เป็นพิธีบรรพชาที่จัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่มีการแห่ลูกแก้หรือผู้บวช ซึ่งจะแต่งตัวสวยงามแบบกษัตริย์หรือเจ้าชาย เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชจนตรัสรู้ การแห่นิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า ขี่ช้าง หรือขี่คอคน มีการร้องรำกันอย่างสนุกสนาน ภาคกลาง เช่น ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นการถวายเภสัชหรือยาแด่พระสงฆ์ ในครั้งพุทธกาลเมื่อพระสงฆ์เกิดอาพาธ พระพุทธเจ้าทรงมี พุทธานุญาตให้พระสงฆ์ฉันน้ำผึ้งได้ เพราะถือว่าเป็นยา จึงมีการถวายน้ำผึ้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน ประเพณีโยนบัว เป็นพิธีนมัสการหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งคลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จะนำดอกบัวโยนถวายหลวงพ่อโต ภาคอีสาน เช่น ประเพณีค้ำโพธิ์ ค้ำไฮ เมื่อผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพในครอบครัวเจ็บป่วยจึงต้องทำพิธีต่ออายให้ยืนยาว ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมว เพื่อขอให้ฝนตกตามฤดูกาล ภาคใต้ เช่น ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและชีวิตที่ผูกพันกับน้ำ โดยชาวบ้าน จะพร้อมใจกันอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบก แล้วลากหรือชักแห่ไปตามถนน หรือตามแม่น้ำลำคลอง ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
น้ำพริกหนุ่ม ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ขนมจีนปักษ์ใต้
๓. การละเล่นพื้นเมือง ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาถิ่น และดนตรีพื้นเมือง ภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ดนตรีพื้นเมือง เช่น สะล้อ พิณ ซึง ภาคกลาง เช่น เพลงเรือง ลำตัด ลิเก เต้นกำรำเคียว ภาคอีสาน เช่น หมอลำ เซิ้ง เครื่องดนตรีที่สำคัญ คือ แคน ภาคใต้ เช่น รำมโนราห์ หนังตะลุง รองเง็ง เพลงบอก
ฟ้อนเล็บ ลิเก เซิ้ง รำมโนราห์
๔. ประเพณีพื้นเมือง ภาคเหนือ เช่น ประเพณีสืบชะตา เป็นพิธีต่ออายุให้แก่ตนเอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล ประเพณีปอยน้อย เป็นพิธีบรรพชาที่จัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่มีการแห่ลูกแก้หรือผู้บวช ซึ่งจะแต่งตัวสวยงามแบบกษัตริย์หรือเจ้าชาย เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชจนตรัสรู้ การแห่นิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า ขี่ช้าง หรือขี่คอคน มีการร้องรำกันอย่างสนุกสนาน ภาคกลาง เช่น ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นการถวายเภสัชหรือยาแด่พระสงฆ์ ในครั้งพุทธกาลเมื่อพระสงฆ์เกิดอาพาธ พระพุทธเจ้าทรงมี พุทธานุญาตให้พระสงฆ์ฉันน้ำผึ้งได้ เพราะถือว่าเป็นยา จึงมีการถวายน้ำผึ้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน ประเพณีโยนบัว เป็นพิธีนมัสการหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งคลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จะนำดอกบัวโยนถวายหลวงพ่อโต ภาคอีสาน เช่น ประเพณีค้ำโพธิ์ ค้ำไฮ เมื่อผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพในครอบครัวเจ็บป่วยจึงต้องทำพิธีต่ออายให้ยืนยาว ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมว เพื่อขอให้ฝนตกตามฤดูกาล ภาคใต้ เช่น ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและชีวิตที่ผูกพันกับน้ำ โดยชาวบ้าน จะพร้อมใจกันอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบก แล้วลากหรือชักแห่ไปตามถนน หรือตามแม่น้ำลำคลอง ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น